Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  ประสิทธิภาพของกรดอินทรีย์ต่อสมรรถนะการผลิตและคุณภาพซากในไก่เนื้อ
Efficacy of organic acid on growth performance and carcass quality in broiler
Autores:  Dungjai Jongtamklang
Nattanan Saenthaweesuk
Anut Chantiratikul
Jowaman Khajarern
Data:  2015-06-04
Ano:  2013
Palavras-chave:  Broiler chicken
Supplemention
Organic acid
Additive
Digestibility
Nutrient absorption
Production performance
Feed conversion ratio
Carcass quality
ไก่เนื้อ
การให้อาหารเสริม
กรดอินทรีย์
สารเสริม
ประสิทธิภาพการย่อย
การดูดซึมสารอาหาร
ค่าความเป็นกรดด่าง
สมรรถนะการผลิต
อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนัก
คุณภาพซาก
Resumo:  The effects of organic acid (double-coated calcium butyrate base supplement) on performance and carcass traits of broiler chickens were assessed in three groups (PC, NC1 and NC2). The organic acid was added in three phases of feeding (1-21d, 22-35d, 36-42d) in PC, NC1 (PC deduction 40 kcal ME/kg and both methionine and lysine 1.5%) and NC2 (PC deduction 60 kcal ME/kg and both methionine and lysine 2.2%). Organic acid was added in PC with three period dosages 750-500-500 ppm and in both NC1 and NC2 1000-750-750 ppm. Addition organic acid in three controls (PC, NC1, NC2) showed similar performance of body weight gain, survival rate, feed conversion ratio and productive index, except for early starter period (1-21d of age). Broilers fed with organic acid showed improvement and better (P<0.05) feed conversion and productive index when compared with PC with no added group. Addition organic acid showed beneficial net profit return over PC group and showed the highest return of investment (ROI) with organic acid added 1000-750-750 ppm in NC1 diet. Carcass quality was not influenced by the dietary treatments (P>0.05).

ผลของการเสริมกรดอินทรีย์ (double-coated calcium butyrate base supplement) ต่อสมรรถนะการผลิตและคุณภาพซากในไก่เนื้อ โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่มควบคุม (PC, NC1 และ NC2) มีการให้อาหารแบ่งตามช่วงอายุไก่เนื้อเป็น 3 ช่วงอายุ (1-21วัน, 22-35วัน และ 36-42วัน) โดยไก่เนื้อแต่ละกลุ่มจะได้รับอาหารแตกต่างกัน ดังนี้ กลุ่มอาหารพื้นฐาน, NC1 (กลุ่มอาหารพื้นฐานที่ลดระดับพลังงานใช้ประโยชน์ได้ลง 40 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม, ลดเมทไธโอนีนและไลซีนลง 1.5 เปอร์เซ็นต์) และ NC2 (กลุ่มอาหารพื้นฐานลดระดับพลังงานใช้ประโยชน์ได้ลง 60 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม, ลดเมทไธโอนีนและไลซีนลง 2.2 เปอร์เซ็นต์) เสริมกรดอินทรีย์ในทั้ง 3 ช่วงอายุ ดังนี้ ในกลุ่ม PC เสริม 750-500-500 ppm และในกลุ่ม NC1 และ NC2 เสริม 1000-750-750 ppm จากการศึกษาพบว่า การเสริมกรดอินทรีย์ในอาหารทั้ง 3 กลุ่ม มีสมรรถนะการผลิตต่างๆ ได้แก่ น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น, อัตราการเลี้ยงรอด, อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักและดัชนี การผลิตไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการเสริมกรดอินทรีย์ ยกเว้นในช่วงไก่เนื้อระยะเริ่มต้น (1-21 วัน) กลุ่ม PC ที่เสริมกรดอินทรีย์มีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักและดัชนีการผลิตดีกว่ากลุ่ม PC ที่ไม่ได้เสริมกรดอินทรีย์ (P<0.05) นอกจากนี้กลุ่มที่มีการเสริมกรดอินทรีย์ทุกกลุ่มทดลองจะมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการเสริม กรดอินทรีย์ และไก่เนื้อกลุ่มที่ได้รับอาหารพื้นฐาน NC1 ร่วมกับการเสริมกรดอินทรีย์ที่ระดับ 1000-750-750 ppm มีผลกำไรที่ต่างจากกลุ่มควบคุมสูงที่สุด เมื่อพิจารณาคุณภาพซากพบว่า ไก่เนื้อทุกกลุ่มทดลองมีคุณภาพซากต่างๆ ไม่มีความแตกต่างกัน (P>0.05)
Tipo:  PhysicalObject
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5781

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2013, V. 41, Suppl. 1, p. 27-32

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2556, ปีที่ 41, ฉบับพิเศษ 1, หน้า 27-32
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional